ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้าต้องพูดถึงการเสียภาษีในบ้านเรื่องนั้นมีภาษีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีประเภทนิติบุคคล,  ภาษีบุคคลธรรมดา, ภาษีป้าย, ภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,  ภาษีสรรพาสามิต, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ นับเป็นอีกหนึ่งภาษีที่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีจากเจ้าของกิจการที่ประกอบธุรกิจตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ภาษีประเภทนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจนั้นๆประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามหลักของกฎหมายอีกด้วย ผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายๆธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะคืออะไร แล้วทาง ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีแบบไหน และ มีกิจการประเภทใดบ้าง ประเภทของธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ ประเภทที่ 1: ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น การขายสินค้าทั่วไป การบริการ การขนส่ง หรือผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ประเภทที่ 2: ผู้ประกอบการm ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่ 3: ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ของยอดขาย เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสวนสนุก ธุรกิจขายสุรา อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับแต่ละประเภทธุรกิจจะแตกต่างกันไป ดังนี้ กิจการธนาคาร:…

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs

4 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs ถ้าให้พูดถึงการทำธุรกิจในประเทศไทย นอกจากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการตลาด การแข่งขัน และการจัดการแล้วยังมีภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การเสียภาษี ภาษีเปรียบเสมือนหลอดเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงประเทศ ช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ แต่สำหรับผู้ประกอบการ ภาษีอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียวอย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐยังได้มองเห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ จึงได้ออก มาตรการภาษี มากมายเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อนำไปส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต แข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ รัฐบาลไม่ได้มีเพียงสิทธิประโยชน์ให้เพียงอย่างเดียว แต่ทางกรมสรรพากรก็ได้มีการพัฒนาระบบ Etax ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการระบบEtax ได้มีตัวช่วยในการจัดการเอกสารง่ายขึ้นเพื่อใช้นำไปใช้ในการยื่นภาษีได้อย่างสะดวกสะบายอีกด้วย “รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจ (SMEs) มาโดยตลอด หนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลใช้เพื่อสนับสนุน ธุรกิจ SMEs คือการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งเป็นการลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น” ธุรกิจ (SMEs) มีขนาดกลางและขนาดย่อม มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs เติบโตและไปได้ไกลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ประเภทของสิทธิประโยชน์ทางภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ แบ่งออกได้เป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ 1.การยกเว้นภาษี และ ลดหย่อนภาษี ยกเว้นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นระยะเวลาหนึ่ง และ ลดหย่อนเงินได้ก่อนคำนวณภาษี…

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มVat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!!” แต่!!! ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไรและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร 1.เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่ยื่นจดทะเบียนมีความมีความเสี่ยงถูกปรับกรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีโทษปรับทางกฎหมายตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้รับการใช้บริการนั้นในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปได้ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ  ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ สามารถหักภาษีซื้อจากยอดภาษีขายได้ กรณีที่มียอดขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษีซื้อที่จ่ายไปจากยอดภาษีขายได้ ช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีขนาดใหญ่ มั่นคง และปฏิบัติตามกฎหมาย มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ…

แก้ไขใบกำกับภาษี/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax)ได้ไหม

แก้ไขใบกำกับภาษี ต้องเปลี่ยนเลขที่เอกสารหรือใช้เลขเดิม? การแก้ไขใบกำกับภาษีเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในธุรกิจ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าควรเปลี่ยนเลขที่เอกสารใหม่หรือใช้เลขเดิม บทความนี้จะอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างสองวิธีนี้ และช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสม ตามหลักการแล้ว ไม่ควรแก้ไขเลขที่เอกสาร บนใบกำกับภาษีที่ออกไปแล้ว กรณีที่สามารถแก้ไขใบกำกับภาษีโดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขที่เอกสาร แก้ไขรายละเอียดปลีกย่อย: แก้ไขชื่อ-นามสกุลของผู้ซื้อ/ผู้ขาย แก้ไขที่อยู่ของผู้ซื้อ/ผู้ขาย แก้ไขรายการสินค้า/บริการ แก้ไขจำนวนหน่วยสินค้า/บริการ แก้ไขราคาต่อหน่วยสินค้า/บริการ แก้ไขส่วนลด/ชาร์จเพิ่ม แก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเลิกใบกำกับภาษี: กรณีที่ออกใบกำกับภาษีผิดพลาด กรณีลูกค้าต้องการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า/บริการ กรณีลูกค้าต้องการยกเลิกการสั่งซื้อ วิธีการแก้ไขใบกำกับภาษี พิมพ์ใบกำกับภาษีฉบับใหม่: ระบุเลขที่เอกสารเดิม ระบุ “แก้ไข” ไว้หน้ารายการสินค้า/บริการที่แก้ไข ลงวันที่แก้ไข ประทับตราลงชื่อผู้แก้ไข ทำบันทึกการแก้ไข: ระบุเลขที่เอกสาร ระบุรายละเอียดที่แก้ไข ลงวันที่แก้ไข เก็บสำเนาใบกำกับภาษีฉบับแก้ไข และ บันทึกการแก้ไขไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลขที่เอกสาร แก้ไขสาระสำคัญ: แก้ไขวันที่ แก้ไขชื่อหรือที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี แก้ไขประเภทของสินค้า/บริการ แก้ไขจำนวนเงินรวม แก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่มรวม วิธีการแก้ไขใบกำกับภาษีโดยเปลี่ยนเลขที่เอกสาร พิมพ์ใบกำกับภาษีฉบับใหม่: ใช้เลขที่เอกสารใหม่ ระบุ “แทนฉบับเดิมเลขที่ [เลขที่เอกสารเดิม]” ลงวันที่แก้ไข ประทับตราลงชื่อผู้แก้ไข ทำบันทึกการแก้ไข: ระบุเลขที่เอกสารเดิม ระบุเลขที่เอกสารใหม่…

5 ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-Tax

5 ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-tax ระบบ etax ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการด้านภาษีแก่ผู้เสียภาษีในเรื่องของความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน กรมสรรพากร ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้เป็นอันดับเเรก โดยพัฒนาระบบ etax ให้มีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น  ดังนี้ 1. ระดับโครงสร้างพื้นฐาน ของระบบ e-tax ระบบ E-Tax ทำงานบนศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 การันตีความปลอดภัยสูงสุดสำหรับข้อมูลภาษี กรมสรรพากร มุ่งมั่นพัฒนาระบบ eTax ให้เป็นระบบบริการภาษีออนไลน์ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญสูงสุดกับการปกป้องข้อมูลภาษีของผู้เสียภาษี ดังนั้น ระบบ eTax จึงทำงานบนศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 ดังต่อไปนี้ มาตรฐาน ISO 27001 คืออะไร ISO 27001 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS) กำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสารสนเทศ ปกป้องข้อมูล และรักษาความต่อเนื่องของระบบ องค์กรที่ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องข้อมูล สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย…

สังคมดิจิทัล เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนชีวิตยุคใหม่ 2567

สังคมดิจิทัล(Digital Society) ขับเคลื่อนชีวิตยุคใหม่ 2567 ในยุคปัจจุบัน สังคมดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง การกิน การอยู่ ไลฟ์สไตล์ การทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวก ให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสังคม เช่น การเดินทาง: แอปพลิเคชั่นแผนที่ เช่น Google Maps ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาเส้นทาง วางแผนการเดินทาง และติดตามสภาพการจราจรได้แบบเรียลไทม์ การกิน: แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร เช่น Line man,GrabFood, Foodpanda และแบรนด์อื่นๆ ช่วยให้ผู้ใช้สั่งอาหารจากร้านอาหารที่ชื่นชอบได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องออกจากบ้าน การอยู่: แอปพลิเคชั่นควบคุมบ้านอัจฉริยะ เช่น SmartThings ช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน เช่น ไฟ แอร์ ประตู ผ่านสมาร์ทโฟน ไลฟ์สไตล์: แอปพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Shopee และ ช่องทางออนไลน์ต่างๆ…

6 ประเภทภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ควรรู้

ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME ธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างการจ้างงาน อย่างไรก็ดี ธุรกิจ SME จำเป็นต้องเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ  ภาษี เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ธุรกิจ SME ที่อาจไม่มีทีมบัญชีหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกใบกำกับภาษีมาช่วยดูแล บทความนี้จึงรวบรวมภาษีหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มาอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวและจัดการภาษีอย่างถูกต้อง ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มีดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ บุคคลธรรมดา : ธุรกิจ SME ในรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา: สำหรับเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ของธุรกิจ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ นิติบุคคล: สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT):…

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง TAX คืออะไร? TAX คือ เงินภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งไม่ได้มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2   ประเภท 1️ ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆ ของบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ 2️ ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจาก ผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้ กับ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี TAX? บุคคลที่มีรายได้จากค่าจ้าง เงินเดือน จะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT คืออะไร? VAT คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับกับผู้ซื้อ หรือ ผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทนผู้ขาย เงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต และจำหน่ายสินค้า/บริการ ซึ่งจะรวมที่ผลิตภายในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม จากข้อย่อยของ TAX ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี VAT?…

ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ เเทนใบเดิม (eTax Invoice)

ยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใบเดิม เเล้วออกใบใหม่ กรณีออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผิด ต้องการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเดิม และออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ทดแทน การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่นั้น ให้ออกเลขที่ใบกำกับภาษีใหม่  และลงวัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ โดยใส่หมายเหตุในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า“เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิม เลขที่ xxxxx วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิม” นอกจากนี้ให้หมายเหตุการณ์ยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ด้วย และนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ให้กรมสรรพากร พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

สรุปขั้นตอนการจัดทำเเละนำส่ง eTax invoice & eReceipt

ระบบจัดทำ eTax Invoice & eReceipt ในการจัดใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice) เเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 โดยผู้ประกอบการต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เเละ นำส่งให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการรวมทั้งนำส่งกรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กำหนด ภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป ขั้นตอนการทำ eTax Invoice & eReceipt 1.ยื่นคำขอจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) กับระบบของกรมสรรพากร 2.จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) ในรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด 3.ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือ ประทับรับรองเวลา (Time stamp) ในไฟล์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice…