ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต่างๆต้องเป็นรับเป็นภาระภาษีไว้ทั้งหมด ไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรงซึ่งที่จัดเก็บตามบท บัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมายว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น หน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้า ที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กรมสรรพากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและ มีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ จัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไป แสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษี ภาษีทางอ้อม คือ เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการก่อนที่จะไปถึงลูกค้า ซึ่งเป็นการชำระภาษีทางอ้อมในที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ได้ทำการซื้อขายภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้มีหน้าเสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT) คือเจ้า Vat 7% ที่อยู่ในค่าสินค้า หรือบริการต่างๆ นั่นเอง ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจประกันชีวิต,กิจการโรงรับจำนำ อากรแสตมป์…

ภาษีไม่จ่ายได้ไหม

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากจะกำหนดสิทธิต่างๆ ที่ประชาชนพึงมีไว้แล้ว ยังได้กำหนดหน้าที่ของประชาชน ที่จะต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งกฎหมายที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลกฎหมายรัษฎากร ภาษี หมายถึง เงินที่เก็บจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศพื่อนำมาใช้บริหารและพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษา ความสงบภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน โดยภาษีจะแบบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากกการประกอบอาชีพ โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ได้จากกการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ ของประชาชนหรือที่เรารู้จักกันว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” นั้นเอง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” กับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” จัดอยู่ในรูปแบบของ #ภาษีทางตรง โดยภาษีทั้งสองประเภทนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปและผู้ที่คิดจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ควรทราบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีจะจัดเก็บจากประชาชนผู้มีเงินได้ทั่วไป ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยปรกติจะจัดเก็บเป็นปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่ กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บได้จากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในส่วนรูปแบบ…

Thailand 4.0

พักหลัง ๆ นี้เพื่อน ๆ หลายคนคงได้ยินตามโทรทัศน์ งานสัมมนา หรืออ่านผ่านตาบนเฟซบุ๊กของนักวิชาการหลายท่านเกี่ยวกับเรื่องของ Thailand 4.0 พบเห็นจนจำได้ขึ้นใจในประโยคที่ว่า “ประเทศไทยต้องก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้” ซึ่งมันคืออะไรก็ไม่รู้แหละ รู้แค่คร่าว ๆ ว่ามันเกี่ยวกับเทคโนโลยี เกี่ยวกับประเทศไทยทั้งประเทศ แต่เป็นยังไงมายังไง แล้วทำไมอยู่ ๆ ถึงมี 4.0 เลย มันมี 1.0 2.0 มาก่อนมั้ย แล้ว 4.0 มันคืออะไร ดียังไง เดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กัน รับรองได้ว่า ง่าย สั้น กระชับ อ่านจบไปเล่าต่อได้ทันทีครับ เริ่มต้นกันใหม่ ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายก่อนว่า Thailand 1.0 – 4.0 ต่าง ๆ มันคืออะไร ซึ่งมันก็คือโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย แต่แตกต่างกันที่กลุ่มการลงทุนหลักของประเทศในขณะนั้น…

5 ข้อดีของการเปลี่ยนมาใช้ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

5 ข้อดีของการเปลี่ยนมาใช้ ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์’ (e-Tax Invoice) ในยุคปัจจุบันที่กำลังก้าวสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ แน่นอนว่าการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำให้การดำเนินการทางธุรกิจเกิดความสะดวก ปลอดภัย และง่ายยิ่งขึ้น การออก ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์‘ (e-Tax Invoice) แทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ได้กลายเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสู่การพัฒนาระบบการเสียภาษี และกลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร ทำให้งานเอกสารเป็นเรื่องง่าย ลดความผิดพลาด ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกด้วย การเปลี่ยนจากการออกใบกำกับภาษีในรูปแบบ ‘กระดาษ’ มาเป็น การออก ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์’ (e-Tax Invoice) นั้น ช่วยให้การออกเอกสารเป็นไปด้วยความสะดวกและช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนไปได้มากเลยทีเดียวค่ะ และในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 5 ข้อดี ของการเปลี่ยนมาใช้ ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์’ (e-Tax Invoice) จะมีอะไรบ้างมาติดตามกันเลย ข้อดี 1 : ประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่ายในการส่งเอกสาร ด้วยการออก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากองค์กรหลายแห่งต้องออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice)…

รู้ก่อนได้เปรียบ!!! e-Tax Invoice และ e-Receipt

รู้ก่อนได้เปรียบ e-Tax Invoice & e-Receipt ในยุคดิจิทัลการทำธุรกรรมต่างๆ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่จำเป็น ระบบ e-Tax ช่วยให้ การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบนี้ขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการออกใบกำกับภาษี มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนต่างๆ และลูกค้าหรือคู่ค้าของท่าน โดยไม่ต้องเก็บเอกสารกระดาษใบกำกับภาษีอีกต่อไป “ e-Tax Invoice & e-Receipt คือ ระบบการออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนรูปแบบกระดาษทั่วไป โดยผู้ประกอบการสามารถออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) กับทางผู้ให้บริการอาทิเช่น ระบบ Etaxeasy เพื่อให้รูปแบบเอกสารถูกต้องตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด และส่งมอบให้กับลูกค้าผ่านทางอีเมล หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แทนการส่งมอบเอกสารในรูปแบบกระดาษ เป็นต้น ” ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คืออะไร ตามคำนิยามที่กรมสรรพากรให้ไว้ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) คือ ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้หมายความรวมถึง  ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร  ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา…

e-Tax Invoice คืออะไร?

e-Tax Invoice คืออะไร?

e-Tax Invoice หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบกำกับภาษีออนไลน์ คำเหล่านี้มักพบเจอบ่อยขึ้นในช่วงระยะเวลาปีสองปีนี้ แต่มีใครจะรู้บ้างว่าจริง ๆ แล้ว e-Tax เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ? หน่วยงานไหนเป็นผู้ผลักดัน และที่สำคัญ e-Tax เนี่ยมันคืออะไร ฟังไปฟังมาแล้วรู้สึกว่ายุ่งยากและเป็นเหมือนสิ่งที่ไกลตัวเรา แต่ที่จริงแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย ในบทความนี้ เราจะมาเล่าให้ฟังว่า e-Tax มีความเป็นมาอย่างไร! เริ่มจากในปี 2555 กรมสรรพากรมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดทำและนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Inv.) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) แทนการใช้สำเนากระดาษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเอกชน และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของภาครัฐ ตามนโบายหลักของรัฐบาลที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) สารบัญ e-Tax Invoice คืออะไร? มีเอกสารอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง หน้าที่ของผู้ออกใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ 1. ระบบ e-Tax Inv. & e-Receipt​ 2.…