บทความ และ กิจกรรม

5 ข้อดีทำไมต้องเป็นมาใช้ e-Tax Invoice (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) คืออะไร ใช้ตอนไหน (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ถ้าเราชำระภาษีไม่ทันตามที่กรมสรรพากรกำหนดต้องทำยังไง? (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีในการประกอบธุรกิจ มี 7 ประเภทหลัก (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีทางตรงเเละภาษีทางอ้อมต่างกันยังไง (คลิกเพื่ออ่านต่อ) การวางเเผนภาษีของบุคคลกับนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียต่างกันดังนี้ (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีไม่จ่ายได้ไหม (คลิกเพื่ออ่านต่อ) จัดทำ e-Tax ยังไง เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Thailand 4.0 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-tax (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) Page 1  2 3 4 พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ไฟล์ XML คืออะไรนะ

ไฟล์ xml คืออะไรนะ XML ย่อมาจาก eXtensible Markup Language เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้ในการเเสดงข้อมูล เหมาะสำหรับการเเลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยทางกรมสรรพากรกำหนดให้รูปแบบเอกสารในการจัดทำเอกสารในระบบe-Tax Invoice & Receipt ให้นำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของไฟล์ XML นั่นเองค่ะ ข้อมูล XML Data จะเก็บตัวเนื้อหาสาระของเอกสารที่ออกจากระบบ โดยมีลายมือชื่อดิจิทัลกำกับอยู่ด้านล่างของไฟล์เอกสารทุกไฟล์ เพื่อเป็นการควบคุมเนื้อหาภายในเอกสาร หากใครมาเเก้ไขข้อมูลใน XML Data เเละไม่ได้มีการลงลายมือชื่อดิจิทัลใหม่ จะถือได้ว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้อง การเเลกเปลี่ยนข้อมูลในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล จะมาจากเจ้าของข้อมูลต้นทางจริง ข้อมูลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง เเละ เจ้าของข้อมูลที่ส่งเอกสารมาให้เราจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่ส่งออกมาได้ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

เอกสารที่ต้องส่งในระบบ etax invoice & e-receipt

เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ เเห่งประมวลรัษฎากร4.ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Debit Note) ตามมาตรา 86/9 เเห่งประมวลรัษฎากร5.ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Crebit Note) ตามมาตรา 86/10 เเห่งประมวลรัษฎากรโดยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ใช้งานยังไงนะ

Digital Certificate หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Digital Certificate หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการพิสูจน์ตัวตนของหน่วยงานเเละบริษัท หรือเปรียบเสมือนบัตรประชาชนของบุคคลธรรมดานั่นเอง ใช้สำหรับการลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) บนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น บริษัทมีหลายสาขา ต้องซื้อ Digital Certificate เเยกตามสาขาไหมนะ โดยในกรณีที่บริษัทมีหลายสาขา ไม่จำเป็นต้องซื้อDigital Certificate เเยกตามสาขา สามารถใช้ใบรับรองใบเดียวกับทุกสาขาได้เลยค่ะ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

eTax คืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?

etaxคืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? โลกในยุคปัจจุบันก้าวสู่สังคมอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเข้ามาอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เเละทางธุรกิจมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่เพียงเเต่ทำให้การทำงานสะดวกเเละรวดเร็วขึ้น เเต่ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินกิจการได้อีกด้วย ไม่ใช่ภาคเอกชนเองที่ต้องปรับตัว ทางภาครัฐก็ส่งเสริมเเละมีนโยบายในการผลักดันให้เป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) เเละเข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร รวมทั้งทางกรมสรรพากร ได้พัฒนา ระบบใบกำกับภาษีเเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เพื่อรองรับการจัดทำ จัดส่ง เเละจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้เหมาะสม สะดวกกับผู้ประกอบการ รวมทั้งลดปัญหาเอกสารสูญหาย หาเอกสารไม่เจอ เเละยังลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ความต่างระหว่างใบกำกับภาษีเเบบกระดาษ vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร 2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร 3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105…

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice 1.ศึกษากฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  (1) พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สาหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ.3-2560) (4)ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน (ขมธอ.14-2560) และศึกษาวิธีการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 2.เตรียมพร้อมระบบงานของกิจการในการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่เหมาะสม 3.จัดเตรียมใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) 4.ขออนุมัติกรมสรรพากร ความเเตกต่างระหว่าง ระบบ e-Tax Invoice by Email เเละ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผู้ประกอบการสามารถเลือกจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี 1.ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt…

ใบกำกับภาษีแบบเดิม vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

💡ใบกำกับภาษีเเบบเดิม vs.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน💡 สวัสดีค่ะ ท่านเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการยุคใหม่เเละนักบัญชีทุกท่าน วันนี้ทางเพจจะมาไขข้อสงสัย ว่าใบกำกับภาษีเเบบเดิมต่างกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร เเละใบกำกับภาษีแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ พร้อมเเล้วไปอ่านกันเลยยย ใบกำกับภาษีเเบบเดิม (Tax invoice) : เป็นเอกสารสำคัญที่ทางผู้ขายออกให้กับผู้ใช้บริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเเสดงข้อมูลมูลค่าสินค้าหรือบริการและ Vat ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของกระดาษ ทำให้มีเอกสารจำนวนมากเเละต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารเหล่านั้น เเละอาจพบปัญหาเรื่องการค้นหาเอกสารได้ยากอีกด้วย ใบกำกับภาษีเเบบเดิมนั้นค่อนข้างมีราคาสูง เพราะต้องทำการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษเเละต้องใช้บุคลากรหลายตำเเหน่งในการดำเนินงานทั้งกระบวนการ รวมทั้งอาจเกิด Human Error หรือข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ค่ะ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) : รูปแบบการทำงานเหมือนใบกำกับภาษีเเบบเดิม เเต่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำส่งลูกค้าเเละทางกรมสรรพากรได้ทางอินเทอร์เน็ตได้เลยค่ะ รวมทั้งลดพื้นที่ในการจัดเก็บ ทำงานได้ง่ายเเละสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรอีกด้วย ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ยังเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สามารถตรวจสอบการเเก้ไขได้อย่างเเม่นยำ เพราะมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Digital Signature) ทุกครั้ง เพิ่มเกราะป้องกันการกระทำที่ไม่พึงประสงค์หรือการทุจริตได้อีกด้วยค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าเเก้ไขทีหลังนะคะ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเลือกใช้แบบใบกำกับภาษีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก บริษัทควรเลือกใช้ใบกำกับภาษีรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานของในองค์กร เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทค่ะ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ เราจะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คือ เงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการ ยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ทันภายในกำหนดเวลา มีความถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด ต้องหักเมื่อไร เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่…

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต่างๆต้องเป็นรับเป็นภาระภาษีไว้ทั้งหมด ไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรงซึ่งที่จัดเก็บตามบท บัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมายว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น หน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้า ที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กรมสรรพากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและ มีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ จัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไป แสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษี ภาษีทางอ้อม คือ เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการก่อนที่จะไปถึงลูกค้า ซึ่งเป็นการชำระภาษีทางอ้อมในที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ได้ทำการซื้อขายภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้มีหน้าเสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT) คือเจ้า Vat 7% ที่อยู่ในค่าสินค้า หรือบริการต่างๆ นั่นเอง ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจประกันชีวิต,กิจการโรงรับจำนำ อากรแสตมป์…

บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล แบบไหนดีกว่า

การเข้าเป็นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ถึงระบบธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย แต่ในรูปแบบธุรกิจอาจส่งผลในการวางแผนภาษี และในการจัดการบัญชีของกิจการในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของธุรกิจให้เหมาะสมกับ กิจการของตนเองได้ ว่า ธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไรแล้วแบบไหนดีกว่า 1. การดำเนินกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปกิจการขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว จะมีการบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะ มีการตกลงกันเพื่อทำธุรกิจ โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันแต่จะไม่ได้มีการจดบริษัท หุ้นส่วนทุกคนต้องมีการเสียภาษี แบบบุคคลธรรมดากฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย และควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อบอกให้คนทั่วไปทราบว่า คุณทำธุรกิจแบบถูกต้องเปิดเผย มีสถานที่ตั้งประกอบกิจการชัดเจน ข้อดีของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา มีความคล่องตัวสูง เนื่องจากสามารถคิดและตัดสินใจได้คนเดียว ไม่ต้องรอความคิดเห็นจากผู้ถือหุ้น รับกำไรแต่เพียงผู้เดียว จัดตั้งง่าย ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านเอกสาร ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา มีเงินลงทุนเท่าที่เจ้าของกิจการลงไป การระดมทุนเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือ อาจถูกมองว่าไม่มีความมั่นคงทั้งด้านการเงิน และการบริหาร การเสียภาษีจะเป็นลักษณะเหมาจ่าย แม้ว่าปีนั้นผลประกอบการจะขาดทุน หากแต่ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักได้…