ใบเสร็จหายทำอย่างไรได้บ้าง?

ใบเสร็จหายทำอย่างไรได้บ้าง? “ทุกคนเคยเป็นกันมั้ยคะ เวลาที่เราไปซื้อของหรือชำระค่าอะไรก็แล้วแต่!! บางทีก็เผลอทิ้งบิลไปหรือเก็บไว้ แต่!! จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆมาช่วยให้คนขี้ลืมแบบเราๆ หายกังวลกับการที่จะต้องมาเก็บบิลแล้วหาไม่เจอหรือบิลหาย เพื่อให้สะดวกต่อผู้ใช้งานมาฝากกันค่ะ” ในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบ e-Tax Invoice หรือระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับการจัดการเอกสารทางการเงินขององค์กรให้สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัล ระบบ e-Tax Invoice คือการจัดการใบกำกับภาษีในรูปแบบดิจิทัลที่ได้รับการรับรองโดยกรมสรรพากร ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดทำ ส่ง และจัดเก็บเอกสารภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บิลหายต้องทำอย่างไร? แม้ว่าการใช้ e-Tax Invoice จะลดโอกาสในการสูญหายของเอกสาร แต่หากเกิดกรณีบิลสูญหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ สามารถแก้ไขได้ดังนี้: แจ้งผู้ที่ออกบิล ติดต่อผู้ที่ออก e-Tax Invoice เพื่อขอสำเนาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ซึ่งในระบบดิจิทัลสามารถออกสำเนาได้อย่างรวดเร็ว เข้าระบบเพื่อดาวน์โหลดเอกสารอีกครั้ง หากผู้ใช้งานมีบัญชีในระบบที่จัดเก็บ e-Tax Invoice เช่น ระบบของกรมสรรพากร หรือระบบ ERP ขององค์กร สามารถดาวน์โหลดเอกสารที่ต้องการได้ทันที เก็บหลักฐานการร้องขอในกรณีที่ต้องใช้เอกสารแทนบิลที่สูญหาย เช่น สำเนา…

เตรียมความพร้อม ก่อนการกลับมาEasy e-Receipt ปี 2568 ลดหย่อนภาษี

เตรียมพร้อมก่อนกลับมาของมาตรการ Easy e-Receipt ปี 2568 เริ่มเเรกเราไปทำความเข้าใจของรายละเอียดของมาตรการ Easy e-Receipt ของปี 2567 เพื่อเตรียมความพร้อมในปี 2568 ที่จะถึงนี้กันค่ะ Easy e-Receipt คืออะไร? Easy e-Receipt เป็นโครงการจากทางภาครัฐเพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายละเอียดของปี 2567 มีเงื่อนไขว่าบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ สามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดหย่อนภาษีในปี 2567 โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท และไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษได้ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 มาตรการนี้จะกลับมา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เรามาศึกษารายละเอียดเเละเงื่อนไขกันอีกรอบค่ะ โดยค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลดหย่อนได้ มีดังนี้ค่ะ ค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ เช่น ค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร ค่าเดินทาง หรือค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและพัฒนาทักษะ เช่น ค่าเรียนหรือค่าสัมมนาต่างๆ มาตรการ Easy e-Receipt เป็นแนวทางที่ภาครัฐผลักดันเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการใบเสร็จจากระบบกระดาษไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร บริษัท หรือ…

รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 เตรียมพร้อมยื่นปี 2568

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 สำหรับยื่นภาษีต้นปี 2568 สรุปรวมวิธีการลดหย่อนภาษี กับรายการลดหย่อนภาษีปีภาษี 2567 ว่ามีอะไรบ้างมาดูเนื้อหากันเลยค่ะ การเตรียมตัวยื่นภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนในปี 2567 ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ แต่ยังช่วยให้คุณสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ ต่อไปนี้คือขั้นตอนและคำแนะนำที่สำคัญในการเตรียมตัว มีดังนี้ค่ะ 1.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการกรอกยื่นภาษี รายได้: รวบรวมเอกสารแสดงรายได้ทั้งหมด เช่น ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือเอกสารรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าจ้าง โบนัส ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ค่าใช้จ่าย: เก็บใบเสร็จหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้ลดหย่อนได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท คู่สมรส (ไม่มีรายได้): 60,000 บาท บุตร (อายุไม่เกิน 20 ปี): 30,000 บาท/คน การลงทุน: ตรวจสอบเอกสารการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม…

ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร

ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร การเปรียบเทียบต้นทุนในการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์(eTax Invoice & eReceipt) และใบกำกับภาษีแบบกระดาษ มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะในด้านต้นทุนทางธุรกิจ ความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล ซึ่งแต่ละวิธีมี ข้อดี และค่าใช้จ่ายต่างกัน ดังนี้ค่ะ 1. ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี แบบกระดาษ ใบกำกับภาษีแบบกระดาษมีต้นทุนหลายประการที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้นทุนการพิมพ์และการจัดเก็บเอกสาร: ต้องมีการพิมพ์ใบกำกับภาษีออกมาเป็นกระดาษ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนของกระดาษ หมึกพิมพ์ และการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ ทั้งยังต้องมีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้เมื่อจำเป็น ต้นทุนการจัดการข้อมูลและเวลาในการทำงาน: เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดเตรียมเอกสารและการจัดการเอกสาร อาจมีข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและส่งมอบเอกสาร: การจัดส่งใบกำกับภาษีทางไปรษณีย์หรือพนักงานจัดส่งของบริษัท ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งอาจเพิ่มภาระให้กับธุรกิจ ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี แบบอิเล็กทรอนิกส์ (eTax) ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eTax Invoice มีประโยชน์ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ: ประหยัดต้นทุนด้านวัสดุ: ไม่มีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์และจัดเก็บเอกสาร เนื่องจากข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและค่าใช้จ่ายในระยะยาว ลดเวลาทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ: eTax Invoice ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้นและลดความเสี่ยงของการกรอกข้อมูลผิดพลาด เนื่องจากสามารถใช้ระบบอัตโนมัติในการกรอกข้อมูลและตรวจสอบ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง: เนื่องจากเป็นระบบดิจิทัล…

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร?

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย เป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยในแวดวงธุรกิจและการเงิน แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงและความแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างกันค่ะ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้ในกรณีไหนได้บ้างคะ ภาษีซื้อ คืออะไร คือภาษีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องชำระให้กับหน่วยงานรัฐในขณะทำการซื้อ โดยทั่วไปแล้ว ภาษีนี้จะถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อ และผู้ขายจะมีหน้าที่ในการรวบรวมภาษีนี้เพื่อนำส่งให้กับรัฐบาล ภาษีผู้ซื้อมักถูกนำไปใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งเป็นระบบภาษีที่มีการเรียกเก็บในหลายประเทศ โดยผู้ซื้อจะต้องชำระ VAT ในอัตราที่กำหนดเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการ และผู้ขายจะต้องออกใบเสร็จรับเงินที่ระบุจำนวน VAT ที่ชำระไปด้วย การเก็บภาษี ผู้ซื้อช่วยให้รัฐบาลมีรายได้สำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และการดูแลสังคม ภาษีซื้อช่วย หรือ การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการกระจายรายได้และสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการใช้ภาษีในการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อสังคม ระบบภาษีที่ถูกต้องช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม โดยการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการจ่ายของผู้ซื้อ ผู้ขายสามารถนำภาษีซื้อที่จ่ายไปแล้วมาใช้ในการลดภาษีขาย (VAT) ที่ต้องชำระให้กับรัฐ ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจ รวมไปถึง Etax invoice & e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ การเรียกเก็บภาษี จากสินค้าหรือบริการบางประเภทอาจช่วยควบคุมการบริโภค เช่น การเก็บภาษี…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลัก ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาษีสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างชัดเจนมากชึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น 2.…

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต่างกันอย่างไร

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร เอกสารใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี แต่มีหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น 1. ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงมูลค่าสินค้าหรือบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ผู้ซื้อต้องชำระ ผู้จัดทำ : ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดข้อมูลที่ระบุ เช่น  ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อและผู้ขาย รายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย จำนวนเงินรวม / ราคา ภาษีมูลค่าเพิ่ม วันที่ออกใบกำกับภาษี ความสำคัญ เช่น  เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ใช้เป็นหลักฐานในการเบิกค่า ใช้จ่ายทางภาษีของผู้ซื้อ ใช้ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax Certificate) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับพื่อแสดงจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายให้แก่บุคคลอื่น เช่น …

ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆและเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน นับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย สื่อโซเชียลมีเดียก็กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับทั้งบุคคลทั่วไปและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่องทางในการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลอีกต่อไป แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังในการสร้างแบรนด์ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี และช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืนมั่นคงอีกด้วย บทบาทสำคัญของสื่อโซเชียลมีเดียต่อธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสื่อโซเชียลมีเดียช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แนะนำสินค้า หรือบริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า สร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ของธุรกิจสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำได้ผ่านการโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ สร้างสรรค์ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ในส่วนของสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมตสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สื่อโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งได้ “สื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ให้เติบโตและประสบความสำเร็จ ธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ”“แต่อย่าลืมนะคะว่าการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางไหนทุกๆธุรกิจที่มีเงินได้ทุกประเภทย่อมมีหน้าที่ในการรับภาระหน้าที่ในการเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในทุกๆเดือน ตามกฎของกรมสรรพากรที่ได้กำหนดไว้ในเงินได้แต่ละเภทนั้นๆ” ธุรกิจออนไลน์จะต้องเสียภาษี 2 ประเภทหลัก คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียจากเงินได้ทุกประเภท รวมถึงเงินได้จากการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ด้วย โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ ระยะเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม:…

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง การเริ่มต้นธุรกิจเป็นความฝันของหลายๆ คน แต่การจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงไอเดียที่ดีและความมุ่งมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเข้าใจในกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเป็นเจ้าของกิจการนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย หลายๆเรื่องซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องให้ความสำคัญ หากคุณกำลังวางแผนที่จะเปิดธุรกิจ หรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องภาษีที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องภาษี? การทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากไม่เข้าใจเรื่องภาษี อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การถูกปรับ หรือการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของภาษีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ภาษีที่ผู้ประกอบการควรทราบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลหากคุณจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด คุณต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการ หากธุรกิจของคุณมีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่หักจากเงินได้ที่จ่ายให้บุคคลอื่น เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ คุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการบางประเภท เช่น กิจการโรงแรม ร้านอาหาร ภาษีสรรพสามิต…

ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท

การยื่นภาษี คือ? การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีและการหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การยื่นภาษีล่าช้าอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถวางแผนการยื่นภาษีได้ง่ายและถูกต้องและเข้าใจช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาสรุปสั้นให้ฟังค่ะว่า ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันและมีความสำคัญอย่างไร ทำไมช่วงเวลาในการยื่นภาษีจึงสำคัญ? หลีกเลี่ยงค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้าอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ วางแผนทางการเงินเพื่อให้ผู้สียภาษีรู้กำหนดเวลาในการยื่นภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยื่นภาษีตรงตามกำหนด อาจทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อช่วงเวลาในการยื่นภาษี ประเภทของภาษีแต่ละประเภทของภาษีจะมีกำหนดเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับนิติบุคคล กำหนดเวลาในการยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทกำหนด การขยายเวลาในบางกรณี กรมสรรพากรอาจมีการประกาศขยายเวลาในการยื่นภาษีออกไป เนื่องจากเหตุจำเป็น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบฯ กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ หมายเหตุ ภ.ง.ด.90 ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรหรือมีเงินได้ฯ ตาม มาตรา 40(1) และ มาตรา…