8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง กรณีผู้มีเงินได้ในการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกัน และมีความยากง่ายหรือต้นทุนที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในกฎหมายจึงได้แบ่งประเภทเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการของผู้เสียภาษี ซึ่งภาษีเงินได้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือบุคคลผู้ที่มีรายได้ โดยการคำนวณภาษีก็จะแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองมาดูตารางสรุป 8 ประเภทของภาษีเงินได้กันเลยค่ะว่า แต่ละประเภทเนี้ยมีความแตกต่างกันอย่างไร เงินได้ที่เรารับอยู่ตอนนี้จัดอยู่ในประเภทเงินได้ ประเภทใดกันแน่นะ เงินได้ประเภทที่ 1 เป็นเงินได้ที่จัดอยู่ในหมวดของ พนักงานประจำหรือบุคคลที่รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินในส่วน เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือเงินให้สวัสดิการก็ตามที เงินได้ประเภทที่ 2 เป็นเงินได้จัดอยู่ในหมวดของ อาชีพอิสระหรือที่เค้าเรียกกันวันว่า ฟรีแลนซ์ ตามที่เราๆเคยได้ยินกันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด   เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำแต่จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว หรือไม่ก็ตาม ภาษีเงินได้ประเภทที่ 3 เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอื่นๆ หรือเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น…

การจัดเก็บภาษี (e-commerce)

การจัดเก็บภาษี (e-commerce) ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (e-commerce) มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ และ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการ เสนอขายและนำส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรมสรรพากรต้องปรับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ โดยหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ e-commerce มีดังนี้ 1. ใครต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ e-commerce ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าดิจิทัล ไม่ว่าจะขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลง ภาพยนตร์ เกม อีบุ๊ค 2. ประเภทของภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 1: ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 2: ภาษี = เงินได้พึงประเมิน…

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง อาจจะยังมีหลายคนสงสัยว่าบุคคลที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์เค้าเสียกันหรือป่าว ถ้าเสียภาษีแล้วประเภทภาษีของอาชีพฟรีมีอะไรบ้าง ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับผู้มีรายได้ประจำทั่วไป โดยเงินได้ของคุณจะจัดอยู่ใน “เงินได้ประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร หรือ “เงินได้มาตรา 40 (2)” ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นประชาชนคนไทยและมีรายได้ ทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ฟรีแลนซ์ หรือที่เค้าเรียกกันว่า อาชีพอิสระ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง เลือกเวลาทำงาน เลือกสถานที่ทำงานเองได้ โดยไม่ต้องสังกัดองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่การเป็นฟรีแลนซ์นั้น ก็มาพร้อมกับ ภาระหน้าที่ ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ค่ะ ภาษีหลัก ที่ฟรีแลนซ์ต้องเสียมีดังนี้ ประเภทภาษี กรณีที่ต้องเสีย อัตราภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีธุรกิจเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหมือนกับอาชีพทั่วไป โดยจะต้องเสียภาษี 2 รอบ ดังนี้…

ลดหย่อนภาษีเที่ยวเมืองรอง 2567 ใช้เอกสารระบบ etax

สนใจใช้ระบบ etax ปรึกษาฟรี (คลิกเลย) ลดหย่อนภาษีเที่ยวเมืองรอง 2567 ใช้เอกสารระบบ etax ทางภาครัฐต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเมืองไทย จึงได้มีการอนุมัติมาตรการลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด และ 15 จังหวัดหลัก 167 อำเภอเพื่อกระตุ้นให้สภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจดีขึ้น โดยโครงการเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม จนถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 มาตรการลดหย่อนภาษีในการท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล (ใช้เอกสารระบบ etax) มาตรการลดหย่อนภาษีในการท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับบุคคลธรรมดา ใช้ใบกำกับภาษีในรูปแบบ e-Tax invoice & e-Receipt สิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริการที่อยู่ในมาตรการที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถมาหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 1.5 เท่า ของค่าใช้จ่ายตามจริง ใบกำกับภาษีต้องออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice & e-receipt) หรือ etax invoice by…

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้าต้องพูดถึงการเสียภาษีในบ้านเรื่องนั้นมีภาษีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีประเภทนิติบุคคล,  ภาษีบุคคลธรรมดา, ภาษีป้าย, ภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,  ภาษีสรรพาสามิต, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ นับเป็นอีกหนึ่งภาษีที่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีจากเจ้าของกิจการที่ประกอบธุรกิจตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ภาษีประเภทนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจนั้นๆประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามหลักของกฎหมายอีกด้วย ผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายๆธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะคืออะไร แล้วทาง ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีแบบไหน และ มีกิจการประเภทใดบ้าง ประเภทของธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ ประเภทที่ 1: ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น การขายสินค้าทั่วไป การบริการ การขนส่ง หรือผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ประเภทที่ 2: ผู้ประกอบการm ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่ 3: ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ของยอดขาย เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสวนสนุก ธุรกิจขายสุรา อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับแต่ละประเภทธุรกิจจะแตกต่างกันไป ดังนี้ กิจการธนาคาร:…

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs

4 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs ถ้าให้พูดถึงการทำธุรกิจในประเทศไทย นอกจากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการตลาด การแข่งขัน และการจัดการแล้วยังมีภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การเสียภาษี ภาษีเปรียบเสมือนหลอดเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงประเทศ ช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ แต่สำหรับผู้ประกอบการ ภาษีอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียวอย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐยังได้มองเห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ จึงได้ออก มาตรการภาษี มากมายเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อนำไปส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต แข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ รัฐบาลไม่ได้มีเพียงสิทธิประโยชน์ให้เพียงอย่างเดียว แต่ทางกรมสรรพากรก็ได้มีการพัฒนาระบบ Etax ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการระบบEtax ได้มีตัวช่วยในการจัดการเอกสารง่ายขึ้นเพื่อใช้นำไปใช้ในการยื่นภาษีได้อย่างสะดวกสะบายอีกด้วย “รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจ (SMEs) มาโดยตลอด หนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลใช้เพื่อสนับสนุน ธุรกิจ SMEs คือการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งเป็นการลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น” ธุรกิจ (SMEs) มีขนาดกลางและขนาดย่อม มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs เติบโตและไปได้ไกลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ประเภทของสิทธิประโยชน์ทางภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ แบ่งออกได้เป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ 1.การยกเว้นภาษี และ ลดหย่อนภาษี ยกเว้นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นระยะเวลาหนึ่ง และ ลดหย่อนเงินได้ก่อนคำนวณภาษี…

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มVat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!!” แต่!!! ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไรและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร 1.เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่ยื่นจดทะเบียนมีความมีความเสี่ยงถูกปรับกรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีโทษปรับทางกฎหมายตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้รับการใช้บริการนั้นในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปได้ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ  ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ สามารถหักภาษีซื้อจากยอดภาษีขายได้ กรณีที่มียอดขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษีซื้อที่จ่ายไปจากยอดภาษีขายได้ ช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีขนาดใหญ่ มั่นคง และปฏิบัติตามกฎหมาย มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ…

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจหรือยังสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ว่าคืออะไร โดยตามกฎหมายแล้วกำหนดให้กลุ่มนิติบุคคล อาทิ เช่น (บริษัทจำกัด. ห้างหุ้นส่วนจำกัด. หรือ บริษัทมหาชน) ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล  สามารถยื่นภาษี ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงกลางปี และช่วงปลายปี แต่จะยื่นแบบไหนเเละเริ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51กันค่ะว่า แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ภ.ง.ด 50 คืออะไร? ในการเสียภาษีเงินได้ปลายปีนั้น จะต้องใช้แบบกรอกข้อมูลที่เป็นฟอร์มของ ภ.ง.ด.50 และต้องเซ็นรับรองจากฝ่ายบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี โดยแนบเอกสารงบการเงินต่างๆที่มีการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยมีกำหนดให้ส่งแบบภายใน 150 วัน โดยใช้ช่องทางในการยื่นผ่าน Website ของกรมสรรพากร ช่องทาง  e-filing ตัวอย่างเช่น หากปิดงบ วันที่ 31 ธันวาคม ทางผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภ.ง.ด.50…

ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้

รู้หรือไม่ ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ อาจจะมีทั้งคนที่รู้ และคนที่ที่ยังไม่รู้ว่าการหักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานของท่าน เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครอง ในเรื่องของด้านการศึกษาของบุตรหลาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ เเละการส่งเสริมให้เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลดีต่ออนาคตของพวกเขา เเละประเทศชาติโดยรวม รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายสนับสนุนการศึกษา หนึ่งในนั้นคือ การอนุญาตให้ผู้เสียภาษี หักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานท่านได้ ภาษีค่าเล่าเรียน หมายถึง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศจะมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ทำไมภาษีค่าเล่าเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ? เพราะการทำความเข้าใจในเรื่องภาษีค่าเล่าเรียนจะช่วยให้คุณวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทำให้คุณมีเงินออมเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับภาษีค่าเล่าเรียนอาจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันการศึกษา ภาษีค่าเล่าเรียนในประเทศไทย ในประเทศไทย โดยทั่วไปค่าเล่าเรียนจะไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น ค่าเล่าเรียนของบุตรที่อยู่ในความอุปการะ ซึ่งอาจมีเงื่อนไขและวงเงินที่กำหนดไว้ บุคคลที่สามารถหักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานได้ บิดา หรือ มารดา ของบุตร บุคคลอื่น ที่เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร ผู้รับบุตรบุญธรรม คุณสมบัติของบุตรที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ บุตร ชอบด้วยกฎหมาย ของผู้เสียภาษี หรือของคู่สมรส บุตรบุญธรรม ของผู้เสียภาษี บุตร มีอายุไม่เกิน 25 ปี…

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ซึ่งรวมถึงเงินได้จากการประกอบอาชีพ เงินได้จากการจ้างทำ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจและวิชาชีพ เงินได้จากการประมง เงินได้จากเกษตรกรรม เงินได้จากค่าเช่า เงินได้จากเงินปันผล เงินได้จากดอกเบี้ย และเงินได้อื่นๆ ภาษีนิติบุคคล หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล ซึ่งรวมถึงบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน สมาคม มูลนิธิ และนิติบุคคลอื่นๆ ความแตกต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล หัวข้อ 1.ผู้เสียภาษี 2.ประเภทของรายได้ 3.การเสียภาษี 4.อัตราภาษี 5.ค่าลดหย่อน 6.การยื่นแบบแสดงรายการภาษี     ภาษีบุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไป เงินได้จากหลายแหล่ง เสียภาษีตามประเภทของรายได้ แบบก้าวหน้า สูงสุด 35% มีค่าลดหย่อนหลายประเภท ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง ภาษีนิติบุคคล นิติบุคคล เงินได้จากการประกอบธุรกิจ เสียภาษีจากกำไรสุทธิ 20% มีค่าลดหย่อนน้อย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง…